กระด้ง

วิธีการทำกระด้ง

                                                   กระด้ง

 



วิธีการทำกระด้ง

อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้

1) มีด
2) เลื่อย
3) คีม
4) ไม้ไผ่
5) ลวด
6) เชือก
7) เหล็ก
วิธีการดำเนินงาน
1) ศึกษาและรับฟังวิธีการทำกระด้งอย่างละเอียด
2) ตัดไม้ไผ่ ยาวประมาณ 2 เมตร
3) จากนั้นนำไม้ไผ่มาเหลา ให้เป็นเส้นบางพอสมควรที่จะสานกระด้งได้
4) แล้วนำมาวางเรียงกัน 8 เส้น นำไม้ไผ่มาสานกัน เป็นลายขัดกัน 2 เส้น จากนั้นก็สานต่อไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้ตามขนาดที่เราต้องการ
5) ไปเหลาไม้ไผ่มาดัดมาทำเป็นขอบกระด้ง
6) นำขอบกระด้งมาประกอบกันเครื่องจักสานภาคเหนือ ภาคเหนือ หรือล้านนาไทย เป็นดินแดนที่มีศิลปวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นเป็นของตนเอง เป็นเหตุให้เครื่องจักสานในภาคเหนือมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น นอกจากนี้ ภาคเหนือหรือล้านนาไทยมีสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างไปจากภาคอื่นๆ
สภาพการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมทำให้ภาคเหนือเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือเครื่องใช้จักสานที่สำคัญ นอกจากนี้ ภาคเหนือยังมีวัตถุดิบหลายชนิดที่นำมาทำเครื่องจักสานได้ เช่น กก แหย่ง ใบลาน และไม้ไผ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ไผ่ซึ่งมีหลายชนิดที่ใช้ทำเครื่องจักสานได้ดี
นอกจากสภาพภูมิประเทศและการประกอบอาชีพของภาคเหนือที่เอื้ออำนวยให้ประชาชนทำเครื่องจักสานแล้ว ศิลปวัฒนธรรม ขนบประเพณีและศาสนาของภาคเหนือ ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เครื่องจักสานภาคเหนือมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
ภาคเหนือหรือล้านนาไทยเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ในวงล้อมของขุนเขา ทำให้ภาคเหนือมีศิลปวัฒนธรรมเป็นของตนเองมาแต่โบราณมีภาษาพูด ภาษาเขียน ขนบประเพณี เป็นของตนเอง เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นเหล่านี้เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้เครื่องจักสานภาคเหนือมีเอกลักษณ์ของตนเอง
การทำเครื่องจักสานพื้นบ้านภาคเหนือหรือล้านนาไทยนั้น ทำสืบต่อกันมาแต่โบราณ ดังมีหลักฐานปรากฏในภาพจิตรกรรมฝาผนังหลายแห่ง เช่น ภาพชาวบ้านกับเครื่องจักสานในภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดพระสิงห์วรวิหารอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นภาพชาวบ้านกำลังนั่งสนทนากันอยู่ ข้างๆ ตัวมีภาชนะจักสานชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เปี้ยด หรือกระบุงวางอยู่รูปทรงของเปี้ยดในภาพคล้ายกับเปี้ยดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แสดงว่าชาวล้านนาสานเปี้ยดใช้มานานนับร้อยปี นอกจากภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดสิงห์วรวิหารแล้ว ยังมีภาพของเครื่องจักสานปรากฏในภาพจิตรกรรมฝาผนังอีกหลายภาพ เช่น ภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดบวกครกหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดภูมินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน กระด้ง หรือ ด้ง ที่นิยมใช้กันอยู่ในภาคใต้มี ๒ อย่าง คือ กระด้งฝัดข้าว และกระด้งมอนกระด้งทั้งสองชนิดนี้สานด้วยไม้ไผ่และหวายสำหรับใช้งานเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำไร่ทำนา กระด้งปักษ์ใต้ทั้งสองชนิดเป็นกระด้งที่มีลักษณะเฉพาะที่ต่างไปจากกระด้งภาคอื่นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งด้านรูปแบบและลวดลาย
ด้านรูปแบบของกระด้งฝัดภาคใต้ต่างไปจากกระด้งทั่วๆ ไป คือ จะมีรูปกลมรีคล้ายรูปหัวใจ ส่วนป้านจะกลมมน ส่วนแหลมจะรีเล็กน้อยและการทำกระด้งให้มีลักษณะรีแทนที่จะกลมก็เพื่อความสะดวกในการร่อน ฝัด และเทข้าวออกแสดงให้เห็นการสร้างรูปแบบที่สอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอยอย่างแยบยล